คำชี้แจ
1. บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานธุรกิจเพื่อนประกอบการเรียน วิชา คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจเบื้องต้น
2. บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเพื่อการเรียน และเพื่อผู้ที่สนใจ ไม่มีเจตนาใดแอบแฝง
3. บล็อกนี้จัดทำขึ้นโดยนิสิตคณะการท่องเที่ยวและการจัดการโรงแรมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อนำส่งอาจารย์ประจำวิชาและเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจในระบบสารสนเทศ
4. ขอขอบคุณธนาคารกสิกรไทย สำหรับข้อมูลที่น่าสนใจ ขอขอบคุณเว็บไซท์ต่าง ๆ ที่นำเสนอ ข่าว บทความ ที่น่าสนใจ เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ ขอขอบคุณอาจารย์วีระวัฒน์ มะเสนา ที่มอบหมายงานมาทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากขึ้น ขอขอบคุณอาจารย์วิชิต ชาวะหา สำหรับคำปรึกษาที่ดีในการนำเสนอข้อมูล และการสร้างบล็อก
5. ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกของเรา
6. หากท่านจะเสนอความคิดเห็น โปรดใช้คำพูดที่สุภาพ
7. การหาข้อมูลอยู่แถบด้านขวา คลิกตามหัวข้อที่ต้องการอ่าน

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

- ระบบ EAI หรือ เว็บเซอร์วิส (Web Services) 1

โครงสร้างไอทีของกสิกรไทย
วิสัยทัศน์ทางไอทีของกสิกรไทย วิสัยทัศน์ของงานส่วนวิศวกรรมระบบงานสารสนเทศนั้น มีเป้าหมายเพื่อสร้างและพัฒนาระบบสารสนเทศให้กับธนาคาร รวมไปถึงเรื่องการดำเนินงาน สนับสนุนข้อมูล โดยฝ่ายสนับสนุนงานธนาคารนั้นจริงๆ แล้วมี 11 ฝ่าย แต่แยกเป็นสายไอทีเพียง 6 ฝ่าย คือ ฝ่ายวิจัยและพัฒนากระบวนการทำงาน ฝ่ายนี้จะเน้นไปทางเรื่องการทำกระบวนการทำงานของธนาคาร เรื่องการจัดการเทคโนโลยี การจัดซื้อจัดหาเทคโนโลยีต่างๆ ให้กับฝ่ายงานส่วนอื่นๆ
สำหรับฝ่ายที่สองคือ ฝ่ายวิศวกรรมระบบงานสารสนเทศ มีภารกิจหลักคือการสร้างแอพพลิเคชัน จะนำเทคโนโลยีที่ฝ่ายแรกจัดหามาใช้งาน รวมถึงคอยดูแลระบบงาน เช่น งานบางส่วนที่เอาต์ซอร์สออกไปให้เวนเดอร์ทำ ฝ่ายนี้จะต้องดูแลให้เวนเดอร์ทำได้ตามมาตรฐาน ทางกสิกรไทยเรียกมาตรฐานนี้ว่า System Development Life Cycle Standard หรือ SDLC
งานส่วนที่สามของฝ่ายไอทีคือ ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนนี้เป็นทีมสร้างโครงสร้างทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเน็ตเวิร์ก ซิสเต็มโปรแกรมเมอร์ หรือการใช้ทูลสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่หลากหลาย และฝ่ายที่สี่คือ ฝ่ายประมวลผลระบบงานสารสนเทศ เป็นฝ่ายวิจัยและศึกษาเทคโนโลยี ทั้งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน หรือที่พัฒนาใหม่ สำหรับควบคุมการจัดวางงบประมาณทั้งหมดของเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งทั้ง 4 ฝ่ายนี้ มีผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการเป็นผู้ดูแล แต่อีก 2 ฝ่ายจะขึ้นตรงกับรองกรรมการผู้จัดการ คือ ฝ่ายความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งทำหน้าที่กำหนดนโยบายเกี่ยวกับความปลอดภัย อินเทอร์เน็ตแบงกิง และฝ่ายสุดท้ายคือ ฝ่ายส่งเสริมการปฏิบัติการ ที่จะคอยรวบรวมข้อมูลในการอิมพลีเมนต์ ติดตามผลการปฏิบัติงาน มีการทำ Operation Ready Test หรือ ORT ซึ่งคือการพัฒนาแล้วทดสอบเตรียมพร้อมใช้งาน และยังรวมส่วนสนับสนุนหรือ Helpdesk ด้วย งานส่วนต่างๆ เกิดจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่มีต่อภาพรวมของระบบทั้งหมด อันกลายมาเป็นกลยุทธ์ของสายงานไอที
 การพัฒนากลยุทธ์ของกสิกรไทย
ปัจจุบันธนาคารได้พัฒนากลยุทธ์ขึ้นมา เรียกว่า Balance Score Card หรือ BSC ซึ่งในนั้นจะมียุทธศาสตร์อยู่ 14 กลยุทธ์ แต่ว่าทางฝ่ายสายงานระบบเองมีกลยุทธ์ที่จะไปสนับสนุนยุทธศาสตร์นั้นใน 3 ประเด็นคือ Increase Operational Efficiency เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน อันที่สองคือเรื่อง Improve IT Capability พัฒนาขีดความสามารถของการทำงานบนเทคโนโลยีสารสนเทศ และสุดท้ายคือ Achieve Information Sufficiency Stage สร้างความพร้อมทางด้านข้อมูล การจัดการเกี่ยวกับธุรกิจ ซึ่งกลยุทธ์ทั้งหมดนี้ จะเข้าไปสร้างภาพที่ชัดเจนให้กับ Score Card ความต้องการของลูกค้า และส่วนงานปฏิบัติการ
จุดมุ่งหวังใหญ่ของฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อยุทธศาสตร์หลักของธนาคารกสิกรไทยนั้น ภาพรวมที่ชัดเจนคือ ต้องการเรื่องของการปฏิบัติงาน นวัตกรรมใหม่ๆ เทคโนโลยีการเรียนรู้ และการฝึกอบรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ซึ่งเราโฟกัสที่การปฏิบัติการ และอีเลิร์นนิ่ง ซึ่งเราเชื่อว่าจะเข้าไปเชื่อมกับเป้าหมายหลักของ Score Card ได้ จากเป้าหมายของเรา ทำให้เราพยายามที่จะให้ระบบงานต่างๆ ทำงานอัตโนมัติมากขึ้น เช่น โครงการอีเปย์เมนต์ (e-Payment) หรืออย่างอินเทอร์เน็ตแบงกิง ถ้าเป็นเรื่องของการสนับสนุนความพร้อมด้านเทคนิคและเรื่องข้อมูลนั้น เราจะสร้างโมเดลใหม่ส่วนดาต้าแวร์เฮ้าส์ เราพยายามจัดเก็บข้อมูลลูกค้าจากเอกสารให้มาอยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น หรืออย่าง CRM ที่จะสนับสนุนการดำเนินงานด้านธุรกิจของลูกค้า
พยายามที่จะย่นกระบวนการเช่น การอนุมัติเครดิตของลูกค้า ให้เป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น เพื่อร่นเวลา หรืออย่างเรื่องการตามหนี้ที่ต้องใช้ซอฟต์แวร์เพื่อค้นหาได้ว่าปัจจุบันกระบวนการไปถึงไหนแล้ว ซึ่งอันนี้จะไปเสริมกลยุทธ์ข้อที่สาม คือความพร้อมทางด้านข้อมูล ซึ่งบางครั้งทำให้เราต้องกลับมาคิดถึงว่า ทำอย่างไรให้ขีดความสามารถของการทำงานเพิ่มขึ้น” 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น