คำชี้แจ
1. บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานธุรกิจเพื่อนประกอบการเรียน วิชา คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจเบื้องต้น
2. บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเพื่อการเรียน และเพื่อผู้ที่สนใจ ไม่มีเจตนาใดแอบแฝง
3. บล็อกนี้จัดทำขึ้นโดยนิสิตคณะการท่องเที่ยวและการจัดการโรงแรมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อนำส่งอาจารย์ประจำวิชาและเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจในระบบสารสนเทศ
4. ขอขอบคุณธนาคารกสิกรไทย สำหรับข้อมูลที่น่าสนใจ ขอขอบคุณเว็บไซท์ต่าง ๆ ที่นำเสนอ ข่าว บทความ ที่น่าสนใจ เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ ขอขอบคุณอาจารย์วีระวัฒน์ มะเสนา ที่มอบหมายงานมาทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากขึ้น ขอขอบคุณอาจารย์วิชิต ชาวะหา สำหรับคำปรึกษาที่ดีในการนำเสนอข้อมูล และการสร้างบล็อก
5. ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกของเรา
6. หากท่านจะเสนอความคิดเห็น โปรดใช้คำพูดที่สุภาพ
7. การหาข้อมูลอยู่แถบด้านขวา คลิกตามหัวข้อที่ต้องการอ่าน

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

- K-My Debit Card

เจาะไลฟ์สไตล์วัยรุ่น Gen Y เพิ่มสิทธิ์ส่วนลด สะสมแต้ม พร้อมใช้ช้อปปิ้งผ่านเน็ต



            ธนาคารกสิกรไทย เอาใจคนวัย Gen Y พัฒนา K-My Debit Card บวกโปรโมชั่นอินเทรนด์เน้นความสนุกสนานเอาใจวัยรุ่น ให้ส่วนลดดูหนัง ช้อปปิ้ง กินเที่ยว และสะสมแต้มแลกของรางวัลตลอดปี พร้อมใช้ช้อปปิ้งผ่านเน็ตด้วยระบบ Verified by VISA (VbV) แบบรหัสผ่านใช้ครั้งเดียว (One Time Password) ธนาคารตั้งเป้าให้ K-My Debit Card เป็นบัตรสำหรับกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นและคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการความทันสมัยที่แตกต่างจากบัตรเดบิตทั่วไป และล่าสุดได้พัฒนาให้เป็นบัตรเดบิตใบแรกในประเทศไทยที่สามารถใช้ซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัยด้วยระบบ Verified by VISA แบบรหัสผ่านใช้ครั้งเดียว     (One Time Password) ได้ เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มวัยรุ่นที่ยังไม่มีบัตรเครดิต แต่ต้องการซื้อสินค้า บริการ หรือตั๋วเครื่องบินผ่านอินเทอร์เน็ต




- K-Money Transfer



ปลอดภัย รวดเร็ว ทันสมัย ตอบสนองชีวิตยุคใหม่ ครอบคลุมได้ทุกความต้องการ


- K-Smart Tourism Solutions




·                         รับชำระง่ายๆ (Collection) : ตอบ สนองความต้องการของบริษัทในธุรกิจท่องเที่ยวที่ต้องการการจัดเก็บรายได้ที่ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย รองรับการชำระเงินได้หลากหลายช่องทางจากลูกค้าทั่วทุกมุมโลก       ตลอด 24 ชั่วโมง
·                    จ่ายสบายๆ (Payment) : ลดความยุ่งยากในการตัดจ่ายเงินให้แก่คู่ค้า และลูกจ้างที่มีหลายราย อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ประหยัดเวลา ผ่านบริการธนาคารออนไลน์
รายละเอียด
ขอบเขตการให้บริการ

บริการ
 ลักษณะของบริการ
รับชำระง่ายๆ
(Collection)  
บริการร้านค้ารับบัตรเครดิต และบัตรเดบิตกสิกรไทย
(K-Card Acceptance) 
·                         รับชำระค่าสินค้า / บริการด้วยบัตรเครดิตและบัตรเดบิต Visa/MasterCard ทุกสถาบันทั่วโลก
·                         เพื่อความสะดวกสบาย เพิ่มโอกาสในการขายให้กับกิจการมากยิ่งขึ้น
·                         รับรายงานสรุปผลยอดการใช้ผ่านทาง E-Mail
บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตกสิกรไทย (K-Payment Gateway)
·                          รับชำระค่าสินค้า / บริการผ่านบัตรเครดิตบนเว็บไซต์ ของร้านค้า โดยระบบจะทำการอนุมัติบัตรเครดิตลูกค้า แบบออนไลน์เรียลไทม์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง รองรับการทำธุรกรรมทั้งในและต่างประเทศ
·                         มั่นใจด้วยระบบ Verified by Visa/ MasterCard SecureCode เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ถือบัตรและลดความเสี่ยงให้กับร้านค้า
บริการรับเงินโอนจากต่างประเทศ (Global Inward)
·                          ทราบยอดเงินและชื่อผู้โอนจากต่างประเทศทันทีที่เงินโอนเข้า ผ่านทาง E-Mail / SMS
·                         ทราบข้อมูลความเคลื่อนไหวอัตราแลกเปลี่ยนประจำวันและบทวิเคราะห์รายวัน
บริการโอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ (EFT)
·                         บริการรับเช็คและบริการรับโอนเงินจากลูกค้า/คู่ค้าเพื่อเข้าบัญชีกสิกรไทย
บริการเช็คเรียกเก็บเงินต่างจังหวัด (CQ)
บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการ (Bill Payment)
·                         รับชำระสบาย หลากหลายช่องทาง สะดวก รู้ที่มาของเงินแบบทันที (Real time)
จ่ายสบายๆ
(Payment)
บริการระบบจัดการทางการเงินอิเล็กทรอนิคส์กสิกรไทย (K-Cash Connect)
สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ทำธุรกรรมง่ายๆ ผ่านบริการธนาคารออนไลน์
พร้อมทั้งให้คุณตามติดความเคลื่อนไหวทางบัญชีได้โดยไม่สะดุด
·                         โอนเงินระหว่างบัญชีบริษัท (Inter-Account Transfer)
·                         โอนเงินให้บุคคลที่สาม (Third Party Transfer)
·                         โอนเงินให้บุคคลที่สาม (Third Party Transfer)
·                         โอนเงินเพื่อบุคคลอื่นที่ไม่มีบัญชีกสิกรไทย (Smart Credit)
·                         โอนเงินเข้าบัญชีจ่ายเงินเดือนพนักงาน (Payroll Cash Connect)
 บริการอื่นๆ
บริการข้อมูลรายงาน
อิเลคทรอนิคส์กสิกรไทย (Report Management System)
·                         ได้รับข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง ผ่านบริการแจ้ง Statement ผ่านทาง E-Mail



- K-Payment Gateway

                      เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เพิ่มความสะดวกสบาย เพิ่มอำนาจการจับจ่ายให้ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการในร้านค้าได้คล่องตัวขึ้นK-Payment Gateway เป็นบริการรับชำระค่าสินค้าและบริการผ่านบัตรเครดิตออนไลน์ในการซื้อขาย สินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรืออี-คอมเมิร์ซ โดยรับบัตรวีซ่า บัตรมาสเตอร์การ์ด และบัตรเจซีบีที่ออกโดยธนาคารต่างๆ ทั่วโลก สามารถรองรับการอนุมัติวงเงินบัตรเครดิตแบบ Real-Time ตลอด 24 ชั่วโมง และรองรับการชำระเงินได้ถึง 35 สกุลเงินทั่วโลก (Multi Currency)
     นอกจากนี้ ยังมีระบบ DCC (Dynamic Currency Conversion) อำนวยความสะดวกให้กับร้านค้าและผู้ถือบัตร กล่าวคือ เมื่อนำบัตรเครดิตในสกุลเงินต่างประเทศมาชำระค่าสินค้าและบริการ ยอดเงินจะถูกแปลงเป็น Home Currency ของบัตรนั้นๆโดยอัตโนมัติ เพื่อให้ผู้ถือบัตรสามารถเลือกได้ว่าจะชำระเงินเป็นสกุลเงินบาท หรือสกุลเงินตามบัตร
     ร้านค้าสามารถเรียกดูรายงานการสั่งซื้อสินค้าได้ตลอดเวลาผ่าน Merchant Reporting Application ซึ่งมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย แสดงข้อมูลและรายละเอียดที่ครบถ้วนอำนวยความสะดวกให้แก่ร้านค้า อาทิ การเรียกดูรายงานรายการสั่งซื้อสินค้า (Transaction List) ค้นหารายการสั่งซื้อ (Search Transaction) ส่งคำสั่งเรียกรับชำระเงิน (Settlement) และยกเลิกรายการสั่งซื้อ (Void) นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นสำหรับสร้าง HTML Code เพื่อต่อเชื่อมกับ K-Payment Gateway อีกทั้งยังเป็นช่องทางให้ร้านค้าสามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของธนาคารได้ ทั้งนี้ รายได้จากขายสินค้าจะถูกโอนเข้าบัญชีภายในวันที่ร้านค้าทำการเรียกชำระเงิน (Settlement)  ร้านค้าสามารถเบิกเงินสดออกมาใช้ได้จริงในวันทำการถัดไป (ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในสัญญาที่ทำกับธนาคาร) โดยร้านค้าสามารถเลือกวิธีการทำเรียกรับชำระเงินได้ 3 วิธี คือ Auto Settlement, Semi-Auto Settlement และ Manual Settlement ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของลักษณะธุรกิจของแต่ละร้านค้า
     ด้านความปลอดภัย K-Payment Gateway มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลทั้งของร้านค้าและผู้ถือบัตร ด้วยการเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) ด้วย SSL 128 bits, การวางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามมาตรฐานและ Firewall ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงระบบ Verified by VISA และ MasterCard SecureCode ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับการรับรายการสั่งซื้อของร้านค้า ทำให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด 



ระบบสารสนเทศที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ ให้บริการลูกค้า เพิ่มเติม - ระบบ K-Mobile Banking


ประโยชน์ที่ลูกค้า K-Mobile Banking ของธนาคารจะได้รับ
1.        ความสะดวกสบายในการใช้งาน
          จากการให้บริการที่หลากหลายของ K-Mobile Banking เหมือนกับการทำธุรกรรมผ่านทางเคาน์เตอร์ของธนาคารโดยตรง ได้แก่ บริการเช็คยอดเงินในบัญชีหรือบัตรเครดิตที่ผูกไว้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการโอนเงินภายในบัญชีธนาคารกสิกรไทย และโอนเงินต่างธนาคาร บริการชำระค่าสินค้าหรือบริการ เป็นต้น ความสามารถที่หลากหลายนี้ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงการทำธุรกรรมทางการเงินและผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคารได้ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกในกระบวนการชำระเงินกับธนาคารให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้ลูกค้าลดความต้องการในการถือเงินสดลงไปอีกด้วย
2.        ความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงิน
          ธนาคารกสิกรไทยมีการพัฒนาความสามารถของ K-Mobile Banking อย่างต่อเนื่องรวมทั้งเพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในการโจรกรรมข้อมูลทางการเงินของลูกค้าได้อีกทางหนึ่ง อย่างเช่น การร่วมมือกันระหว่างธนาคารกสิกรไทย กับ DTAC เพื่อเพิ่มทางเลือกในการรักษาความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงินด้วยการใช้ ATM SIM ซึ่งจะใช้รหัสส่วนตัว 4 หลักของลูกค้า และ SIM Card ร่วมกับเบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการระบุถึงตัวตนของลูกค้าก่อนที่จะทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

3.        ประโยชน์ส่วนบุคคล
          ธนาคารกสิกรไทยได้จัดรายการพิเศษต่างๆ ให้กับลูกค้าที่ใช้บริการ K-Mobile Banking อยู่เสมอ อย่างเช่น member-get-member campaign ซึ่งลูกค้าจะได้รับการสมนาคุณพิเศษจากธนาคารและผู้ค้าที่เกี่ยวข้อง และยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการรับข้อมูลของผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคาร รวมทั้งสามารถเป็นกระเป๋าเงินส่วนบุคคลบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ เพราะสามารถทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารได้โดยตรงทุกที่ทุกเวลา

ผลกระทบจากการนำเทคโนโลยี K-Mobile Banking มาใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารกสิกรไทย
ประโยชน์ที่ธนาคารกสิกรไทยได้รับ
1.      เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้
                เนื่องจากในปัจจุบันแนวโน้มของการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังในตารางข้างต้น ซึ่งอ้างอิงจากรายงานไตรมาสของผู้ให้บริการเครือข่าย  จะเห็นได้ว่า ทางธนาคารกสิกรไทยจึงสามารถขยายฐานลูกค้าจากการนำเทคโนโลยี K- Mobile Banking มาใช้สร้างรายได้ให้กับธนาคารได้ทั้งจากค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่บ่อยครั้งขึ้น และยังสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจแบบใหม่จากเทคโนโลยี Mobile Marketing ซึ่งเป็นการทำธุรกิจบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อีกด้วย
2.      เพิ่มประสบการณ์ทางธุรกรรมทางการเงินแบบใหม่ให้กับลูกค้า
ธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารแห่งแรกที่นำเอาเทคโนโลยี Mobile Banking มาใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินโดยใช้รูปแบบ one stop service บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางเลือกใหม่ให้กับลูกค้า และช่วยให้เพิ่ม Customer Loyalty รวมทั้ง Brand Awareness ของธนาคารอีกทางหนึ่งด้วย  ซึ่งสามารถประเมินได้จากข้อมูลด้านล่างนี้ที่แสดงถึงแนวโน้มในการลงทะเบียนเพื่อใช้งาน K-Mobile Banking ที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
3.      ลดต้นทุน
 ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนจากการนำเทคโนโลยี Mobile Banking มาช่วยเพิ่มช่องทางในการทำธุรกรรมของธนาคารกสิกรไทย คือ สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทางการบริการต่างๆ เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ของสาขาที่ให้บริการ รวมทั้งยังช่วยลดต้นทุนในการเก็บรักษาข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้า และต้นทุนในการสร้าง platform ที่หลากหลาย เนื่องจาก K-Mobile Banking สามารถใช้งานได้ทุกรุ่นและทุกระบบของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตลอด 24 ชั่วโมง
ทิศทางในอนาคตของ K-Mobile Banking
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่และสื่อทางด้านอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอนาคตที่มีการรองรับการใช้งานได้อย่างหลากหลายเช่นกัน ทำให้โทรศัพท์เคลื่อนที่กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันนอกจากปัจจัย 4  จนแทบจะถือได้ว่า โทรศัพท์เคลื่อนที่ถือเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิต และเป็นอุปกรณ์เทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน               
          บมจ. ธนาคารกสิกรไทย ได้เล็งเห็นช่องทางใหม่ในการทำธุรกรรมทางการเงิน ผ่านทางช่องทางใหม่ๆเหล่านี้  โดยเฉพาะผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งกลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันสำหรับผู้คนในปัจจุบัน ดังนั้น ธนาคารกสิกรไทยจึงได้ตระหนักถึงอุปสรรคต่างๆ ที่มีผลต่อการขยายการใช้งานผ่านช่องทางนี้ รวมทั้งสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ในการรองรับการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยการสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรให้มากขึ้นทั้งทางภาครัฐและเอกชน โดยมีบทกฎหมายและการบังคับใช้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
          นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทยยังเล็งเห็นถึงโอกาสในการทำธุรกิจทั้งภายในและระหว่างประเทศด้วยการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย ธนาคาร ฯ จึงให้ความสนใจในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน และแถบเอเชีย พร้อมทั้งมีความใส่ใจต่อลูกค้าด้วยการตระหนักถึงภาระค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมทางการเงินให้เหมาะสมและเป็นธรรมต่อลูกค้ามากขึ้นอีกด้วย

- ระบบ EAI หรือ เว็บเซอร์วิส (Web Services) 3


โครงสร้างโมเดลของ EAI
ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ Tuxedo และ Web Logic ของ BEA ซึ่งเข้ามาช่วยเชื่อมต่อข้อมูลในโมเดลการทำงานของธนาคารหลัก 3 ระบบ ได้แก่ Customer Relationship management หรือ CRM ซึ่งเป็นระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าที่บริการข้อมูลอันการเกิดจากการติดต่อของลูกค้ากับธนาคาร ระบบ Credit Management and Administration System หรือ CMAS ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการงานด้านเครดิต เป็นระบบหลักในการพิจารณาข้อมูลระดับเครดิตของลูกค้า และระบบสุดท้ายคือ Customer Information System หรือ CIS เป็นระบบเชื่อมโยงฐานข้อมูลลูกค้า ซึ่งเก็บรายละเอียดทั้งหมดที่เกี่ยวกับลูกค้าเอาไว้ ทั้ง 3 ระบบนี้จะเชื่อมโยงกันเป็นหลัก สามารถอินทิเกรตเข้าหากัน เสมือนเป็นแอพพลิเคชันเดียวกัน
ในเรื่องของอินทิเกรตนั้นแบ่งเป็น 3 วิธี 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นแรกเป็น การอินทิเกรตข้อมูลที่ต่างคนต่างเข้าไปดึงไฟล์ที่แชร์ไว้จากส่วนกลาง ขั้นที่สองเรียกว่า พรีเซนเทชันอินทิเกรตชัน คือมีพรีเซนเทชันอะไรก็จำลองตัวเองเหมือนโอเปอเรชันเข้าไปทำงานแทน และขั้นนสุดท้ายคือ แต่ละแอพพลิเคชันจะมี API ที่เข้ามาทำงานแทน ซึ่งตั้งเป้าไว้ว่าให้ทุกระบบมี API เชื่อมต่อเข้ากับ EAI ให้ได้ ถ้าที่สุดแล้วข้อมูลที่เรามีอยู่ไม่สามารถเชื่อมต่อได้จากโมเดลของ EAI เราก็จะต้องทำด้วยวิธีสุดท้ายคือ เข้าไปดึงข้อมูลมาแล้วแปลงทีละข้อมูล


สรุปภาพรวมของการลงทุนในเทคโนโลยีเว็บเซอร์วิสใหม่
ไม่น่าตกยุค น่าจะเป็นผู้นำในเทคโนโลยี แต่ไม่ผลีผลาม ช่วงแรกจะให้ EAI เข้ามาใช้ในโครงสร้างพื้นฐานก่อน จะสนับสนุนเฉพาะสายงานที่เป็นไอที คือการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างระบบ ช่วงแรกยังไม่สร้างบริการแจกจ่ายให้ลูกค้า ปัญหาเราคือ การประชาสัมพันธ์ให้คนในองค์กรเข้าใจ ยูสเซอร์ในองค์กรส่วนมากจะเข้ามาถามว่า งานของเขาต้องใช้ EAI ไหม EAI ช่วยอะไรเขาได้หรือเปล่า เราจึงพยายามลดขนาด โฟกัสงานอยู่ที่ฝ่ายเราก่อนเป็นหลัก
เรื่องของการวัด ROI ผลการลงทุนนั้น มี 2 หลักการใหญ่ๆ คือ ข้อแรก เราเชื่อว่าเราจะใช้เวลาในการพัฒนาระบบลดลง สมมุติอดีตเวลาคุณเขียนเชื่อมระบบอะไรผ่านเน็ต ต่างคนก็ต่างเขียน เพื่อไปเชื่อมต่อให้ได้ แต่ตอนนี้คุณมี EAI ซึ่งเป็นตัวกลางแล้ว คุณเข้าไปดูปรากฏมีโพรเซสนี้ที่คุณต้องการอยู่แล้ว ระบบอื่นที่จะไปเชื่อมก็เรียกใช้ฟังก์ชันเดียวกัน ไม่ต้องพัฒนาตัวนี้ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมพัฒนาได้เร็วขึ้น
ส่วนหลักการที่ 2 คือ ปัจจุบันธนาคารทำอะไรจะมีการวัดผล ตั้งเป้าเป็นชิ้นๆ เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ Balance Score Card ของเรา ตรงนี้เราเริ่มต้นด้วยเป้าหมายของแต่ละคน แต่ละทีม ไล่ขึ้นไปเรื่อยๆ แล้ววัดว่าทำงาน เสร็จเป็นระยะภายในเท่านี้ จะให้ผลออกมาเท่าไร
อนาคต นิยามใหม่ธนาคารไทย
ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า คือ จุดมุ่งหมายหลักในการดำเนินงานของธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกสิกรไทยมีบริการที่ครอบคลุมทั้งบุคคลทั่วไป และองค์กรธุรกิจ เป็นธนาคารที่เน้นสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เน้นการปรับตัวให้สอดรับกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ บริการต่างๆ จากธนาคารกสิกรไทยจึงให้ทั้งความสะดวกสบายคล่องตัว และมอบผลประโยชน์สูงสุดให้กับลูกค้า ทั้งหมดนี้คือ นโยบายของกสิกรไทย ที่จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ในแวดวงธนาคารไทย
ธนาคารกสิกรไทยตั้งปณิธานไว้ว่าจะให้บริการด้วยความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า การเลือกเทคโนโลยีใหม่อย่างเว็บเซอร์วิส จะเข้ามาช่วยให้กสิกรไทยเชื่อมต่อข้อมูลที่มีอยู่ภายใน ลดเวลาการทำงาน ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล สร้างให้เกิดการบริการใหม่ๆ ประโยชน์ที่ได้รับจากเทคโนโลยีเว็บเซอร์วิสนี้สำหรับธนาคารกสิกรไทยแล้วเป็นมากกว่าการลงทุนทางเทคโนโลยี หากนับเป็นการหว่านปุ๋ยพรวนดินอย่างดีให้กับรวงข้าวที่กำลังงอกงามเฉกเช่นธนาคารกสิกรไทย

- ระบบ EAI หรือ เว็บเซอร์วิส (Web Services) 2

แผนงานเพื่อการสนับสนุนเป้าหมาย
จาก 14 ยุทธศาสตร์และ 3 กลยุทธ์เพื่อสนับสนุนธุรกิจของธนาคาร สิ่งหนึ่งที่จำเป็นที่สุดคือการมองหาเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยสร้างให้เกิดความสำเร็จ จากปัญหาการทำงานช่วงแรก เช่น การอนุมัติบัตรเครดิต ซึ่งต้องการข้อมูลของฝ่ายต่างๆ เพื่อนำมาพิจารณาความเป็นไปได้ทางการเงิน ระยะเวลาทั้งหมดกระบวนการก็เป็นสัปดาห์ หรืออย่างถ้าธนาคารต้องการปรับปรุงคุณภาพงานบริการ ซึ่งต้องนำข้อมูลการให้บริการลูกค้าที่ส่วน CRM จัดเก็บไว้ เข้าผนวกกับข้อมูลความเป็นไปได้อื่นๆ ของอีกฝ่ายหนึ่ง และกว่าจะได้ข้อมูลทั้งหมดก็ใช้เวลาเป็นเดือน ปัญหานี้แก้ไขได้ด้วยการวางโครงการใหม่ที่จะเข้าไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของการเชื่อมระบบและข้อมูลต่างๆ กสิกรไทยได้เรียกโครงการนี้ตามชื่อเทคโนโลยีว่า Enterprise Application Integration หรือ EAI ซึ่งเป็นเหมือนกับเป็นโครงสร้างพื้นฐานของแอพพลิเคชั่นทั้งระบบ ในเรื่องนี้คุณอรอนงค์ อธิบายให้ฟังว่า ธนาคารอื่นอาจจะมองปัญหาเหล่านี้เป็นเลเยอร์ เป็นชิ้นเป็นส่วน และใช้แค่มิดเดิลแวร์ เข้ามาจัดการ หรือเป็นปัญหาที่มิดเดิลแวร์ตัวกลาง แต่ในแง่ของกสิกรไทย เราไม่มองว่าเป็นแค่มิดเดิลแวร์เท่านั้น เรามองในแง่ของขั้นตอนการทำงานมากกว่า เพื่อตอบคำถามที่ว่า ธนาคารมีแผนนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้อย่างไร
มีปัญหาหลายส่วนงาน เรื่องของการเชื่อมโยงเอทีเอ็ม การเข้าใช้งานระบบของยูสเซอร์ในธนาคาร เรื่องของ นโยบายการเข้าถึงเอกสารของพนักงาน เรื่องศูนย์กลางข้อมูล การรักษาความปลอดภัย การมีล็อกอิน ไฟร์วอลล์ นโยบายควบคุม แค่ความปลอดภัยตัวเดียว เรามีกว่า 30 นโยบาย ซึ่งต้องเลือกกระบวนการทางเทคโนโลยีมาใช้ในแต่ละโครงการ แล้วแต่ความเหมาะสม ความยากง่ายเพียงใด ตลอดเวลาที่ผ่านมาบางครั้งเทคโนโลยีแต่ละส่วนก็ไม่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลกันได้ นั่นเป็นที่มาที่ทำให้เราเริ่มต้นโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่ง เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เชื่อมต่อระบบต่างๆ ได้อย่างสะดวก อะไรที่เป็นของเดิมยุ่งยาก ซ้ำซ้อน เชื่อว่าถ้าเรานำโครงการ EAI มาใช้ จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน และยิ่งช่วงนี้เป็นจังหวะของเทคโนโลยีเว็บเซอร์วิสเข้ามาพอดี จากเดิมที่ข้อมูลบางส่วนจะเป็นไดนามิก ถ้านำ EAI ซึ่งใช้พื้นฐานเทคโนโลยีเว็บเซอร์วิสเข้ามาด้วยแล้ว จะนำธนาคารไปสู่ยุคใหม่ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี” 
สู่ยุคที่ 3 ของเทคโนโลยีเว็บ
จากการนำโครงการ EAI มาเป็นกลยุทธ์ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีให้กับธนาคารนั้น นอกจากวัตถุประสงค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลที่ดีในการเชื่อมโยงระบบแล้ว ยังมีเป้าหมายเพื่อการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีในอนาคตอีกด้วย เทคโนโลยีพื้นฐานของ EAI ซึ่งคือ เว็บเซอร์วิสนั้น เรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีของเว็บในยุคที่ 3 นับจากเว็บแบบสแตติก มาจนถึงการโปรแกรมผ่านเว็บเพื่อให้เว็บเป็นไดนามิก
ภาพรวมของเทคโนโลยีที่ใช้ “EAI เป็นของใหม่ ไม่ได้แทนโครงสร้างเดิมเลย คอนเซ็ปต์ของ EAI เริ่มจากปัญหาของการพัฒนางานที่ต่างคนต่างพัฒนา การอินทิเกรตที่ง่ายที่สุดคือ การพิมพ์เอกสารอธิบายแล้วนำมาต่อกัน ด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยี ด้วยภาพของธุรกิจที่ธนาคารไม่ได้เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ ดังนั้นการพัฒนาส่วนใหญ่จะพัฒนาบนโครงสร้างเดิมๆ มากกว่า จึงมองเห็นว่าระบบทั้งหมดไม่สามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้แน่นอน ทำไมต้องบันทึกไฟล์ใส่แผ่นดิสก์ ทำไมไม่ให้ระบบติดต่อสื่อสารกันเอง ดังนั้นจึงต้องการเปลี่ยนวิธีการสื่อสารกันของระบบ ซึ่งนั่นเป็นโครงการแรกที่จะทำ
ใช้เวลาปีกว่า ถึงจะร่างรายชื่อได้ว่าเทคโนโลยีใดที่เหมาะสม จากนั้นต้องทำเรื่องของงบประมาณซึ่งสมัยก่อนการคำนวณ ROI ก็ทำได้ยาก ผู้บริหารส่วนใหญ่จะมองว่าค่าแรงคนงานน้อยกว่าตั้งเยอะ ทำไมต้องมาลงทุนเป็นร้อยล้าน แต่สุดท้ายเราชี้ให้เห็นถึงข้อดีของการใช้เทคโนโลยี ผนวกกับธนาคารมีนโยบายจะเปลี่ยนระบบหลักของธนาคารใหม่ ซึ่งพบว่าระบบหลักไม่สามารถให้บริการได้ทั้งหมด ต้องใช้โมดูลรอบๆ มาเชื่อมข้อมูลระหว่างกัน โดยคนภายนอกมองเห็นเพียงระบบเดียว จึงมอง EAI ว่าจะตอบปัญหานี้ได้